บทที่ 13
แบบจำลองของฐานข้อมูล
(Database
Modeling)
การสร้างแบบจำลองข้อมูลเป็นกระบวนการที่
ใช้ในการกำหนดและวิเคราะห์ความต้องการข้อมูลที่จำเป็นในการสนับสนุนกระบวนการทางธุรกิจภายในขอบเขตของระบบข้อมูลที่เกี่ยวข้องในองค์กรดังนั้น กระบวนการของการสร้างแบบจำลองข้อมูลเกี่ยวข้องกับตัวสร้างข้อมูลมืออาชีพทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้มีส่วนได้เสียทางธุรกิจเช่นเดียวกับผู้ใช้ที่มีศักยภาพของระบบข้อมูลมีโมเดลข้อมูลสามแบบที่สร้างขึ้นขณะที่ดำเนินการจากข้อกำหนดไปยังฐานข้อมูลจริงเพื่อใช้สำหรับระบบข้อมูลความต้องการข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ในขั้นต้นเป็นแบบจำลองข้อมูลแนวคิดซึ่งเป็นชุดของข้อมูลจำเพาะด้านเทคโนโลยีที่เป็นอิสระเกี่ยวกับข้อมูลและใช้เพื่อหารือเกี่ยวกับความต้องการเบื้องต้นกับผู้มีส่วนได้เสียทางธุรกิจ
เทคนิคและวิธีการสร้างแบบจำลองข้อมูลใช้ในการสร้างแบบจำลองข้อมูลในลักษณะมาตรฐานที่สอดคล้องและคาดการณ์ได้เพื่อจัดการเป็นทรัพยากรขอแนะนำให้ใช้มาตรฐานการสร้างแบบจำลองข้อมูลสำหรับทุกโครงการที่ต้องใช้วิธีมาตรฐานในการกำหนดและวิเคราะห์ข้อมูลภายในองค์กรเช่นการใช้การสร้างแบบจำลองข้อมูล
☻เพื่อช่วยนักวิเคราะห์ธุรกิจโปรแกรมเมอร์ผู้ทดสอบด้วยตนเองนักเลือกแพ็คเกจไอทีวิศวกรผู้จัดการองค์กรที่เกี่ยวข้องและลูกค้าให้เข้าใจและใช้แนวคิดแบบกึ่งทางการที่ตกลงกันไว้ในแนวคิดขององค์กรและวิธีที่พวกเขาเกี่ยวข้องกัน
☻ เพื่อจัดการข้อมูลเป็นทรัพยากร
☻ สำหรับการรวมระบบข้อมูล
☻การสร้างแบบจำลองข้อมูลเชิงกลยุทธ์เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างกลยุทธ์ระบบสารสนเทศ ซึ่งกำหนดวิสัยทัศน์และสถาปัตยกรรมโดยรวมสำหรับระบบสารสนเทศ
วิศวกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นวิธีการที่รวบรวมแนวทางนี้
☻การสร้างแบบจำลองข้อมูลระหว่างการวิเคราะห์ระบบในการวิเคราะห์ระบบแบบจำลองข้อมูลเชิงตรรกะถูกสร้างขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาฐานข้อมูลใหม่
การสร้างแบบจำลองข้อมูลยังถูกนำมาใช้เป็นเทคนิคสำหรับรายละเอียดธุรกิจความต้องการที่เฉพาะเจาะจงฐานข้อมูล
บางครั้งเรียกว่าการสร้างแบบจำลองฐานข้อมูลเนื่องจากรูปแบบข้อมูลจะถูกนำไปใช้ในที่สุดในฐานข้อมูล
ส่วนประกอบของแบบจำลองข้อมูล
ส่วนประกอบของแบบจำลองข้อมูลสามารถแบ่งออกเป็น
3
ส่วน ด้วยกันคือ
1.
ส่วนโครงสร้าง (structural)
เป็นส่วนที่ประกอบด้วยกลุ่มสัญลักษณ์รวมทั้งกฎระเบียบที่เห็นพ้องต้องกันเพื่อใช้ในการสร้างฐานข้อมูล
2.
ส่วนปรับปรุง (manipulative)
เป็นส่วนที่กำหนดชนิดของการปฏิบัติการต่าง ๆ กับข้อมูล
ซึ่งประกอบด้วย การอัปเดต หรือการเรียกดูข้อมูลจากฐานข้อมูล
รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างฐานข้อมูล ซึ่งนิยมใช้ชุดคำสั่ง SQL ในการจัดการกับข้อมูล
3.
ส่วนกฎความคงสภาพ (a set of integrity rules)
เป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการควบคุมความถูกต้องของข้อมูล เพื่อให้เกิดความมั่นใจในความถูกต้อง
และความแน่นอนของข้อมูลที่บันทึกลงในฐานข้อมูล
วัตถุประสงค์ของแบบจำลองข้อมูล
คือการนำเสนอข้อมูลเพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกัน
โดยสามารถกำหนดความสัมพันธ์ของแบบจำลองข้อมูล ได้ดังนี้
·
แบบจำลองข้อมูลภายนอก (External
Data Model) จะนำเสนอการวิวข้อมูลของผู้ใช้งานต่าง ๆ
· แบบจำลองข้อมูลแนวคิด (Conceptual Data Model) จะนำเสนอข้อมูลทางลอจิคัล
ที่แสดงถึงความเป็นอิสระกับ DBMS
· แบบจำลองข้อมูลภายใน (Internal Data Model) จะนำโครงร่างแนวคิดที่ได้พรรณนาไว้เพื่อให้
DBMS สามารถจัดเก็บ และการเข้าถึงข้อมูลที่แท้จริงได้
คุณสมบัติของแบบจำลองข้อมูลที่ดี
1.
แบบจำลองข้อมูลที่ดีต้องง่ายต่อความเข้าใจ
กล่าวคือ แบบจำลองข้อมูลควรใช้กฎเกณฑ์ทั่วๆไปโดยมีข้อมูลแอตตริบิวต์ที่อธิบายในรายละเอียดของแต่ละเอนทิตี
2.
แบบจำลองข้อมูลที่ดีต้องมีสาระสำคัญ และไม่ซ้ำซ้อน
หมายถึงแอตตริบิวต์ในแต่ละเอนทิตีไม่ควรมีข้อมูลซ้ำซ้อนโดยบางแอตตริบิวต์อาจเป็นคีย์นอก (foreign key) เพื่อใช้ในการอ้างอิงข้อมูลในอีกเอนทิตีหนึ่ง
3.
แบบจำลองข้อมูลที่ดีต้องมีความยืดหยุ่น และง่ายต่อการปรับปรุงในอนาคต
กล่าวคือ แบบจำลองข้อมูลที่ดีไม่ควรขึ้นกับตัวแอปพลิเคชันโปรแกรม
และสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อโปรแกรมที่ใช้งานอยู่
นั่นหมายถึงความเป็นอิสระในข้อมูล
แบบจำลองฐานข้อมูล (Database
Model)
การตัดสินใจเลือกใช้แบบจำลองฐานข้อมูลชนิดใดเป็นสิ่งสำคัญต่อการออกแบบฐานข้อมูลโดยรายละเอียดการจัดการฐานข้อมูล
หรือการจัดการคลังข้อมูล และต้องสนับสนุน หรือตั้งอยู่บนพื้นฐานของแบบจำลองฐานข้อมูล
ซึ่งมีรายละเอียดต่อไปนี้
1. แบบจำลองฐานข้อมูลลำดับชั้น
(Hierarchical
database model) เป็นแบบจำลอง ของฐานข้อมูลที่ใช้อธิบายถึงบานข้อมูล
ที่มีโครงสร้างของข้อมูลในแบบลำดับชั้น (Hierarchy) โดยมีจุดประสงค์เริ่มต้นเพื่อต้องการให้เป็นฐานข้อมูลที่สามารถขจัดการซ้ำซ้อนของข้อมูล (Data Redundancy) โครงสร้างของฐานข้อมูลแบบ Hierarchy เป็นรูปแบบที่พัฒนามาจากแนวความคิดในการจัดเก็บข้อมูลของโปรแกรมที่มีชื่อว่า
Generalized Update Access Method (GUAM) ที่นำเอาข้อมูลในแต่ละส่วนที่เรียกว่า
Part มาจัดเก็บเป็นกลุ่มที่เรียกว่า Component แล้วจึงรวมแต่ละกลุ่มเป็นกลุ่มใหญ่ทั้งหมดที่เรียกว่า Final
Component โดยมีโครงสร้างอยู่ในรูปแบบของ Tree ที่เรียกว่า Upside-down Tree ซึ่งต่อมาโครงสร้างในลักษณะนี้ได้ถูกเรียกว่า
โครงสร้างแบบ Hierarchy
2. แบบจำลองฐานข้อมูลเครือข่าย
(Network
database model) เป็นแบบจำลองของฐานข้อมูลที่ใช้อธิบายถึงฐานข้อมูลที่มีโครงสร้างของข้อมูลที่จำแนกตามความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้รับการพัฒนามาจากฐานข้อมูลที่มีโครงสร้างแบบHierarchyโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดให้เป็นรูปแบบของโครงสร้างข้อมูลที่เป็นมาตรฐานรวมทั้งมุ่งหวังให้เป็นฐานข้อมูลที่สามารถรองรับข้อมูลที่มีความสัมพันธ์ในแบบ Many
– to – Many
3. แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
(Relational
database model) เป็นฐานข้อมูลที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติระบบฐานข้อมูลขึ้น
เนื่องจากเป็นโครงสร้างของฐานข้อมูลที่มีการนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์ทางด้านฐานข้อมูลต่างๆที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดตั้งแต่ที่ทำงานอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตลอดจนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่อย่างเช่น Mainframe
4. แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงวัตถุ
(Object-Oriented
database model)เทคโนโลยีฐานข้อมูลแบบออบเจกต์
ได้ถูกนำเสนอเข้ามาเพื่อแก้ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น สกีมาของฐานข้อมูลแบบออบเจกต์ จะประกอบไปด้วยชุดของคลาส (class)
โดยที่แต่ละคลาส คือ ชุดของออบเจกต์ที่มีโครงสร้าง
และพฤติกรรมอย่างเดียวกัน โครงสร้างของออบเจกต์ถูกกำหนดโดยใช้พรอปเพอร์ตี (property)
ของคลาส สิ่งที่สำคัญเกี่ยวกับฐานข้อมูลแบบออบเจกต์ก็คือ
ผู้ใช้ไม่มีความจำเป็นต้องรู้เรื่องวิธีการทำงานภายในของแต่ละเมธอดผู้ใช้สามารถเข้าถึงออบเจกต์ลูกค้า และใช้เมธอดสั่งซื้อสินค้าได้เลย
ทั้งนี้การเชื่อมต่อระหว่างออบเจกต์สินค้ากับใบสั่งซื้อที่มีผลกระทบจากการใช้เมธอดสั่งซื้อสินค้าอาจมองเห็นได้โดยผู้ใช้ หรือไม่ก็ได้
5.แบบจำลองฐานข้อมูลแบบมัลติไดเมนชันแบบจำลองชนิดนี้ใช้งานกับคลังข้อมูล(data warehousing)
โดยจะนำเสนอข้อมูลในลักษณะไดเมนชัน
ทำให้วิวข้อมูลได้สองทางเพื่อให้สามารถมองเห็นปัญหาในธุรกิจและสร้างวิธีการแก้ไขปัญหาได้ดียิ่งขึ้นกล่าวคือแบบจำลองฐานข้อมูลมัลติไดเมนชันนี้จะมีการนำกระบวนการทำงานทางธุรกิจมาจัดการให้อยู่ในรูปของมิติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น