บทที่ 3
ข้อมูลระบบบัญชีและกระบวนการทางธุรกิจ
ระบบบัญชี (Accounting System)
หมายถึง
กระบวนการ / ขั้นตอนที่ใช้ ้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลทางการเงินอยู่ในรูปแบบเอกสารแบบฟอร์มทางธุรกิจ เช่น แบบฟอร์มใบส่งของ
ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี แบบฟอร์มสมุดหรือทะเบียนที่ใช้ในการบันทึกบัญชี
ความสำคัญของระบบบัญชี
·เป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหารในการควบคุมการดำเนินงานให้เป็น ไปตามวัตถุประสงค์
·เป็นเครื่องมือในการวัดผลการดำเนินงาน
·เป็นเครื่องมือในการประเมินผลการบริหารงานของตนเอง
·เป็นเครื่องมือในการวางแผนงานในอนาคต
·เป็นเครื่องมือในการป้องกันและรักษาทรัพย์สิน
ของกิจการมิให้สูญหายหรือนำไปใช้ในทางที่มิควร
ความรู้พื้นฐานของกระบวนการทางธุรกิจ
กระบวนการทางธุรกิจนั้นจะเป็นขบวนการต่าง
ๆ หรือขั้นตอนในทุก ๆ ขั้นตอนในการดำเนินธุรกิจ
ผลกำไรที่จะเกิดขึ้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับธุรกิจนั้น ๆ (นายสมชาย จันทร์รักษ์,2556) โดยทั่ว ๆ ไปการดำเนินธุรกิจจะมีอยู่ 3 ประเภท คือ
1.
กิจการให้บริการ (Service
Firm) กิจการให้บริการจะมีรายได้หลัก คือ ค่าธรรมเนียม ค่าบริการรับรายจ่ายหลัก
คือ เงินเดือนพนักงาน ค่าวัสดุสิ้นเปลือง ค่าเช่า ค่าสาธารณูปโภค และอื่น ๆ
รายจ่ายในกิจการให้บริการถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ปัญหาที่เกิดขึ้นในกิจการให้บริการคือการวัดผลการดำเนินงาน
ลักษณะของผลิตภัณฑ์จะไม่เห็นเป็นตัวตนที่ชัดเจน ตัวอย่างของธุรกิจประเภทนี้ เช่น โรงพยาบาล
สำนักงานกฎหมาย บริษัทที่ปรึกษา เป็นต้น
2. กิจการซื้อมาขายไป (Merchandising
Firm) หมายถึง กิจการที่ซื้อขายสินค้าทั้งขายส่งและขายปลีกโดยไม่ใช่ผู้ผลิต
รายได้หลักของกิจการ คือ เงินที่ขายสินค้าได้ ค่าใช้จ่าย จำแนกเป็น 2 ส่วน คือ
ต้นทุนสินค้าขาย และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ตัวอย่าง ของธุรกิจประเภทนี้ เช่น
ห้างสรรพสินค้า ร้านขายยา ร้านขายของชำ เป็นต้น
3. กิจการผลิต (Manufacturing
Firm) กิจการผลิตส่วนใหญ่จะมีโรงงานสำหรับผลิตสินค้า รายได้หลัก คือ
เงินที่ได้จากการขายสินค้า ค้าใช้จ่าย
คือ ต้นทุนในการซื้อวัตถุดิบ ค่าจ้างคนงาน และค่าใช้จ่ายในขบวนการผลิต
ค่าใช้จ่ายทั้งสามส่วนนี้จะรวม เป็นต้นทุนสินค้า
ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในสำนักงานจะถือเป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
บัญชีแยกประเภท
บัญชีแยกประเภท
หมายถึง บัญชีที่รวบรวมการบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นไว้เป็นหมวดหมู่
หลังจากการบันทึกรายการค้าในสมุดรายวันทั่วไป เรียบร้อยแล้วจัดเรียงลำดับผังบัญชีของกิจการ เช่น บัญชีเงินสด เป็นบัญชีที่รวบรวมรายการค้าที่เกี่ยวกับเงินสด บัญชีลูกหนี้ เป็นบัญชีที่รวบรวม
รายการค้าที่เกี่ยวกับลูกหนี้ การบันทึกรายการในแต่ละบัญชี จะบันทึกไม่ปะปนกันเพื่อให้ตรงตามข้อเท็จจริง
เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และสะดวก ในการค้าหาหรือแก้ไขข้อผิดพลาด (วรรณภา
เอี่ยมสมบัติ,2552)
งบการเงิน
งบการเงิน
คือรายงานทางการเงินและบัญชีที่มีแบบแผน เพื่อแสดงภาวะต่าง ๆของบริษัทหรือกิจการนั้น
ๆ โดย งบการเงินประกอบด้วย งบแยกย่อยอีกหลายประเภทซึ่งจะแสดงถึง ฐานะทางการเงิน
ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสด ของบริษัทนั้น ๆ ในแต่ล่ะรอบบัญชีงบแสดงฐานะการเงิน
จุดประสงค์ของงบการเงิน
1. เพื่อให้ผู้ใช้งานงบการเงินทราบถึง คุณภาพการบริหารงานของผู้บริหาร
ว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
2. เพื่อให้ผู้ใช้งานงบการเงินทราบถึง ผลการดำเนินงานของกิจการ
และฐานะทางการเงินของกิจการว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีหรือไม่
3. เพื่อให้ผู้ใช้งานงบการเงิน ศึกษาข้อมูลผลกระทบต่าง ๆ
จากเหตุการณ์ในอดีต เพื่อประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ปัจจุบัน
โดยจุดประสงค์ต่าง ๆ จะเป็นประโยชน์ต่าง ๆ ของผู้ใช้งาน
ในกลุ่ม นักลงทุน เจ้าหนี้ หรือแม้แต่ตัวผู้บริหารเอง
เพื่อปรับปรุงกลยุทธการลงทุนต่าง ๆ ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน
งบการเงินประกอบด้วย
1. งบแสดงฐานะทางการเงิน
หรือ งบดุล เป็นงบการเงินส่วนที่จะแสดงถึง ฐานะทางการเงินของกิจการ
โดยจะบอกเกี่ยวกับ สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ
2. งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
หรือ งบกำไรขาดทุน เป็นงบการเงินที่แสดงถึงผลการดำเนินงานของกิจการว่ามีรายได้และค่าใช้จ่ายเท่าไร
ยังสามารถทำกำไรได้หรือไม่
3. งบกระแสเงินสด
เป็นงบการเงินส่วนที่จะแสดงถึงการรับมาและจ่ายไปของเงินสด โดย งบกระแสเงินสด
จะเกิดขึ้นจาก 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน และกิจกรรมจัดหาเงิน
4. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงของเจ้าของ
เป็นงบการเงินส่วนที่จะแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ ในรอบบัญชี
5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน
จะแสดงข้อมูลเพิ่มเติมที่ไม่ได้แสดงอยู่ในงบการเงิน และเกณฑ์การจัดทำงบการเงิน
ข้อควรระวังในการใช้งบการเงิน
1.งบการเงินเป็นข้อมูลที่สร้างขึ้นการอดีต
ไม่สามารถทำนายอนาคตได้แม่นยำเต็มร้อย เช่น
ในอดีตกิจการมีการเปิดตัวสินค้าใหม่ทำให้กิจการมีกำไรมากมาย
แต่พอถึงปัจจุบันกิจการเปิดตัวสินค้าใหม่กิจการอาจไม่กำไรเหมือนในอดีตก็เพราะมีปัจจัยภายนอกทีเปลี่ยนไป
เช่น ค่านิยม คู่แข่งทางการค้าที่มากขึ้น และอื่น ๆ เป็นต้น
2.ข้อมูลบางอย่างในงบการเงินยังไม่ได้ทำให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน
เช่น มูลค่าของที่ดินที่กิจการซื้อไว้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว
จบการเงินอาจจะยังไม่ได้อัพเดทราคา เป็นต้น
3.ข้อมูลบางอย่างเกิดจากกระประมาณ
ไม่ใช่ตัวเลขจริง เช่น การประมาณต้นทุน การตัดค่าเสื่อมราคา
การประมาณการรับรู้รายได้ การประมาณหนี้สูญ ฯลฯ
ซึ่งข้อมูลข้างต้นอาจจะไม่สะท้อนความเป็นจริงของกิจการ
ที่มา : http://doithai.com/article/59/
การรวบรวมและรายงานข้อมูลบัญชี
· การออกแบบระบบสารสนเทศทางบัญชี
- มีประสิทธิภาพ
- พิจารณาการส่งออกของระบบ
· การส่งออกของระบบสารสนเทศทางบัญชี
ประกอบด้วย
- รายงานการจัดการ
- รายงายการลงทุนและเจ้าหนี้
- ไฟล์ที่เก็บข้อมูลการทำธุรกรรม
- ไฟล์ที่เก็บข้อมูลปัจจุบันเกี่ยวกับบัญชี
การพิจารณาในการออกแบบรายงาน
· รายงาน
- ควรมีประโยชน์สำหรับการตัดสินใจของผู้บริหาร
- ไม่ควรสร้างข้อมูลมากเกินไป
· รูปแบบของรายงานควรจะ
- มีการระบุพื้นฐาน
- สะดวก
- มั่นคง
กระบวนการทางธุรกิจหลัก
· ระบบสารสนเทศทางบัญชี
เก็บรวบรวมและรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกระบวนการทางธุรกิจ
· เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ
เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจและผลกระทบงบการเงิน
· เหตุการณ์ทางธุรกิจ
เป็นสิ่งสำคัญของธุรกิจและไม่ส่งผลกระทบงบการเงิน
กระบวนการขาย
กระบวนการขาย
เป็นเรื่องของกระบวนการดำเนินงานทางการขายอย่างหนึ่งที่จะทำให้สินค้าหรือบริการเกิดการเปลี่ยนกรรมสิทธ์ความเป็นเจ้าของ
โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานเป็นขั้นตอนของกระบวนการขายเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
วัตถุประสงค์ของกระบวนการขาย
· แสวงหาลูกค้า (Prospect for
customers)
· วางแผนวิธีการเข้าหาลูกค้า (Plan the
approach)
· เสนอการขาย และ/หรือ การสาธิต (Make the
presentation and/or demonstration)
· แก้ไขข้อโต้แย้ง (Handle
objections)
· ปิดการขาย (Close the sale)
· ติดตามผลการขาย (Follow-up
กระบวนการจัดซื้อ
การจัดซื้อ
(Purchasing)
หมายถึง กระบวนการที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดหาวัตถุดิบต่าง ๆ ตามความต้องการของหน่วยงานต่าง ๆ
ขององค์กรและเป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงระหว่างองค์กรต่าง ๆ ใน Supply Chain และทำหน้าที่ในการประสานงานในด้านการไหลของข้อมูลระหว่างองค์กรและผู้ขายวัตถุดิบเนื่องจากการมีวัตถุดิบพร้อมเป็นปัจจัยด่านแรกที่กำหนดความสามารถในการผลิตสินค้าและการบริการเพื่อนำส่งให้แก่ลูกค้าได้ในเวลาที่กำหนด
วัตถุประสงค์กระบวนการจัดซื้อ
· ติดตามการซื้อสินค้าและบริการจากผู้ขาย
· ติดตามจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ
· ควบคุมสินค้าคงเหลือ
· การทำทันเวลาและการชำระเงินที่ถูกต้อง
· การคาดการณ์การซื้อสินค้าและกระแสเงินสดจ่าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น