บทที่ 7
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
จริยธรรม และความเป็นส่วนตัว
ที่มาวีดีโอ: https://www.youtube.com/watch?v=bAO_ur8CJvY&t=2s
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง การกระทำผิดทางอาญาในระบบคอมพิวเตอร์
หรือการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อกระทำผิดทางอาญา เช่น ทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือขโมยข้อมูลต่าง
ๆ เป็นต้น ระบบคอมพิวเตอร์ในที่นี้
หมายรวมถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมกับระบบดังกล่าวด้วยสำหรับอาชญากรรมในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
จริยธรรมและความเป็นส่วนตัวในการใช้คอมพิวเตอร์
จริยธรรม
หมายถึง หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้
ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
ซึ่งเมื่อพิจารณาจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ คอมพิวเตอร์แล้ว
สามารถสรุปได้ 4 ประเด็น ได้แก่
1. ความเป็นส่วนตัว (Information
Privacy)
2. ความถูกต้อง (Information
Accuracy)
3. ความเป็นเจ้าของ (Information
Property)
4. การเข้าถึงข้อมูล (Data
Accessibility
1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ
โดยทั่วไปหมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิ
ที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่นสิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การต่าง ๆ
2. ความถูกต้อง (Information Accuracy) ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม
จัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลนั้น ความถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับข้อมูล
ซึ่งข้อมูลควรได้รับการตรวจสอบ ความถูกต้องก่อนที่จะนำเข้าฐานข้อมูล
รวมถึงการปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
3.
ความเป็นเจ้าของ (Information
Property) สิทธิความเป็นเจ้าของ หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน
ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วทั้งที่จับต้องได้ และจับต้องไม่ได้แต่สามารถถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อ
ต่าง ๆ การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
ในการใช้จะแตกต่างกันไปในแต่ละสินค้าและบริษัทบางโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะอนุญาตให้
ติดตั้งได้เพียงครั้งเดียว หรือไม่อนุญาตให้ใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ
ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์เครื่อง นั้น ๆ ท่านเป็นเจ้าของและไม่มีผู้อื่นใช้ก็ตามในขณะที่บางบริษัทอนุญาตให้ใช้โปรแกรมนั้นได้หลายๆเครื่องตราบใดที่ท่านยังเป็นบุคคลที่มีสิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมา
4.
การเข้าถึงข้อมูล (Data
Accessibility) ในการเข้าใช้งานโปรแกรม หรือระบบคอมพิวเตอร์มักจะมีการกำหนดสิทธิตามระดับของ
ผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าไปดำเนินการต่าง ๆ
กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล
ซึ่งหากมีการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม ก็ถือเป็นการผิดจริยธรรม
เช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว
ความแตกต่างของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ และ การละเมิด
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์
มีความเกี่ยวข้องกับการจัดการคอมพิวเตอร์ หรือ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นการทุจริต โดยการรับเงิน
การได้มาซึ่งทรัพย์สิน การรับประโยชน์อื่น ๆ หรือ การทำให้เกิดการสูญเสีย
การใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่ผิดหรือการละเมิดโดยใช้หรือเข้าถึงคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
อาจมาจากแรงจูงใจที่ต้องการแก้แค้น หรือ เพื่อความท้าทายตัวเอง อาจได้รับมีโทษในกรณีที่ร้ายแรง
อาชญากรคอมพิวเตอร์ (Criminal)
คือ
ผู้กระทำผิดกฎหมายโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นส่วนสำคัญ มีการจำแนกไว้ ดังนี้
พวกมือใหม่
(Novices)
หรือมือสมัครเล่น อยากทดลองความรู้และส่วนใหญ่จะมิใช่ผู้
ที่เป็นอาชญากรโดยนิสัย มิได้ดำรงชีพโดยการกระทำผิด อาจหมายถึงพวกที่เพิ่งได้รับความไว้วางใจให้เข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
Darnged
person คือ พวกจิตวิปริต ผิดปกติ มีลักษณะเป็นพวกชอบความรุนแรงและอันตรายมักเป็นพวกที่ชอบทำลายทุกสิ่งที่ขวางหน้าไม่ว่าจะเป็นบุคคล
สิ่งของ หรือสภาพแวดล้อม
Organized
Crime พวกนี้เป็นกลุ่มอาชญากรที่ร่วมมือกันทำผิดในลักษณะขององค์กรใหญ่ๆที่มีระบบ
พวกเขาจะใช้คอมพิวเตอร์ที่ต่างกัน โดยส่วนหนึ่งอาจใช้เป็นเครื่องหาข่าวสาร
เหมือนองค์กรธุรกิจทั่วไป อีกส่วนหนึ่งก็จะใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นตัวประกอบสำคัญในการก่ออาชญากรรม
หรือใช้เทคโนโลยีกลบเกลื่อนร่องร่อย ให้รอดพ้นจากเจ้าหน้าที่
Career
Criminalพวกอาชญากรมืออาชีพเป็นกลุ่มอาชญากรคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่มาก กลุ่มนี้น่าเป็นห่วงมากที่สุด
เนื่องจากนับวันจะทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยจับผิดแล้วจับผิดเล่า บ่อยครั้ง
Com
Artist คือ พวกหัวพัฒนาเป็นพวกที่ชอบความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ส่วนตนอาชญากรประเภทนี้จะใช้ความก้าวหน้า เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และความรู้ของตนเพื่อหาเงินมิชอบทางกฎหมาย
Dreamer
พวกบ้าลัทธิ เป็นพวกที่คอยทำผิดเนื่องจากมีความเชื่อถือสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างรุนแรง
Cracker
หมายถึง ผู้ที่มีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี
จนสามารถลักลอบเข้าสู่ระบบได้
โดยมีวัตถุประสงค์เข้าไปหาผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง มักเข้าไปทำลายหรือลบไฟล์
หรือทำให้คอมพิวเตอร์ใช้การไม่ได้ รวมถึงทำลายระบบปฏิบัติการ
นักเจาะข้อมูล (Hacker) ผู้ที่ชอบเจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น พยายามหาความท้าทายทางเทคโนโลยีเข้าไปในเครือข่ายของผู้อื่นโดยที่ตนเองไม่มีอำนาจอาชญากรในรูปแบบเดิมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ
เช่นพวกลักเล็กขโมยน้อยที่พยายามขโมยบัตร ATM ของผู้อื่น อาชญากรมืออาชีพ
คนพวกนี้จะดำรงชีพจากการกระทำความผิด เช่นพวกที่มักจะใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีฉ้อโกงสถาบันการเงิน
หรือการจารกรรมข้อมูลไปขาย เป็นต้น พวกหัวรุนแรงคลั่งอุดมการณ์หรือลัทธิ มักก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์เพื่ออุดมการณ์ทางการเมือง
เศรษฐกิจ ศาสนา หรือสิทธิมนุษย์ชน เป็นต้น
ที่มา:https://www.baanjomyut.com/library_2/extension1/information_technology_law_in_thailand/01.html
ไวรัสคอมพิวเตอร์ มีกี่ประเภท
Boot virus คือ ไวรัสที่แพร่กระจายเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะที่ทำการบูตเครื่อง
เช่น การนำแผ่นดิสก์ที่มีไวรัสอยู่ไปใช้กับเครื่องอื่น ๆ จะทำให้เครื่องนั้นติดไวรัสทันทีที่ทำการ boot เครื่อง
File virus คือ
ไวรัสที่มาจากการแทรกมากับโปรแกรมต่าง ๆ หรือติดมาจากโปรแกรมที่ดาวน์โหลดมาจากทางอินเทอร์เน็ต
โดยมีผู้ไม่หวังดีแทรกไฟล์ไวรัสไว้
Macro
virus คือ ไวรัสที่แทรกมากับเอกสาร ที่สามารถใส่สคริปควบคุม หรือ macro
ได้ เช่น Microsoft Word, Microsoft Excel
Worm คือ
ไวรัสรูปแบบหนึ่งแต่มีความสามารถในการแพร่กระจายตัวที่รวดเร็วมาก ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้างในเวลาอันรวดเร็ว
Trojan คือ
โปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแอบแฝงตัวอยู่ในเครื่องของผู้ที่ติด
ซึ่งโปรแกรมจะแอบเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่เรากระทำบนเครื่องคอมพิวเตอร์
ที่มา: comerror.com/virus.html
การป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
Firewalls คือ ซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ที่ตรวจสอบข้อมูลที่มาจากอินเตอร์เน็ตหรือเครือข่าย
แล้วบล็อกข้อมูลนั้น หรืออนุญาตให้ข้อมูลนั้นผ่านเข้ามายังคอมพิวเตอร์
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าไฟร์วอลล์ ซึ่งไฟร์วอลล์
ก็คือกำแพงไฟที่ช่วยป้องกันและคัดกรองสิ่งแปลกปลอมที่มาจากอินเตอร์เน็ตกับเครื่องคอมพิวเตอร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น