บทที่
8
ระบบการควบคุมภายในเบื้องต้น
(Introduction to Internal Control)
ระบบการควบคุมภายใน
☻
คำนิยาม
การควบคุมภายใน
หมายถึง กระบวนการที่ผู้บริหารและบุคลากรขององค์กรจัดให้มีขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่า
การดำเนินงานขององค์กรจะบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน มี 3 ประเภท คือ
1.ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน
คือ วัตถุประสงค์พื้นฐานของการดำเนินงานในทุกองค์กร
โดยมุ่งเน้นที่กระบวนการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ
และเอื้ออำนวยให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ในขณะเดียวกัน
ผลที่ได้รับจากกระบวนการนั้นต้องคุ้มค่ากับต้นทุนที่ใช้ไป จึงจะทำให้เกิดความมีประสิทธิภาพ
2.ความน่าเชื่อถือของรายงานทางการเงิน
คือ การจัดให้มีข้อมูลและรายงานทางการเงินที่ถูกต้อง เพียงพอ และเชื่อถือได้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริหาร
บุคลากรในองค์กร และบุคคลภายนอกในการนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจในเรื่องต่างๆ
3.การปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง คือ
การมุ่งเน้นให้กระบวนการปฏิบัติงานเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
เงื่อนไขตามสัญญา ข้อตกลง นโยบาย และแนวทางการปฏิบัติงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
องค์ประกอบการควบคุมภายใน
ค.ศ.
1992 COSO
ได้เสนอรายงานกรอบการควบคุมภายใน (Internal Control –
Integrated Framework) ซึ่งเป็นแม่แบบสากลของการควบคุมภายใน
ประกอบด้วย
1. สภาพแวดล้อมของการควบคุม
(Control
Environment)
ปัจจัยต่างๆ
ที่ส่งผลต่อทัศนคติและความตระหนักถึงความจำเป็นและความสำคัญของการควบคุมภายในของบุคลากรทุกคนในองค์กร
โดยบุคลากรทุกคนเข้าใจความรับผิดชอบและขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตนเอง มีความรู้ ความสามารถ
และทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
รวมถึงการยอมรับและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และวิธีการทำงานต่างๆ ที่องค์กรกำหนดไว้
สภาพแวดล้อมของการควบคุม
มีผลกระทบอย่างมากกับกระบวนการปฏิบัติงานทั้งหมดที่เกิดขึ้นในองค์กร จึงเป็นรากฐานที่สำคัญขององค์ ประกอบอื่นๆของการควบคุมภายในเพื่อสร้างระเบียบวินัยด้านการควบคุมภายในให้แก่ทุกคนในองค์กรและจัดให้มีโครงสร้างของการควบคุมภายในที่เหมาะสม
1.
การประเมินความเสี่ยง (Risk
Assessment)
โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล
การสูญเปล่าหรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์
ที่ทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ความเสี่ยงเหล่านี้อาจเกิดจากสาเหตุภายนอกหรือภายในองค์กรก็ได้
โดยเฉพาะในการดำเนินงานปัจจุบัน ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของนโยบายรัฐบาล สภาพเศรษฐกิจ
กฎระเบียบต่างๆ ทำให้แต่ละองค์กรต้องเผชิญกับความเสี่ยงมากขึ้นถ้าองค์กรสามารถบ่งชี้และประเมินความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม
ก็จะช่วยให้สามารถเตรียมการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ทันท่วงที
ที่มาภาพ: http://www.aloftaviationconsulting.com/portfolio_item/risk-management-the-weak-link-in-sms
1. กิจกรรมการควบคุม
(Control
Activities)
กิจกรรมการควบคุมเป็นองค์ประกอบที่จะช่วยให้มั่นใจได้ว่า
นโยบายและกระบวนการเกี่ยวกับการควบคุมภายในกำหนดขึ้นนั้น
ได้มีการนำไปปฏิบัติตามภายในองค์กรอย่างทั่วถึง นอกจากนี้กิจกรรมการควบคุมยังช่วยสร้างความมั่นใจว่าองค์กรมีกิจกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันหรือลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น
กิจกรรมการควบคุมควรกำหนดให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่ประเมินได้
โดยมีข้อควรพิจารณาในการกำหนดกิจกรรมการควบคุม ดังต่อไปนี้
• กิจกรรมการควบคุมควรเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปฏิบัติงานตามปกติ
• กิจกรรมการควบคุมต้องสามารถป้องกันหรือลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
• ค่าใช้จ่ายในการกำหนดให้กิจกรรมการควบคุมต้องไม่สูงกว่าผลเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
หากไม่กำหนดให้มีกิจกรรมการควบคุมปัญหาที่เกิดขึ้นกับองค์กรส่วนใหญ่ คือ
การกำหนดกิจกรรมการควบคุมตามที่มีการปฏิบัติอยู่เดิม
โดยมิได้พิจารณาความมีประสิทธิภาพ และความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
และความเสี่ยงที่เปลี่ยนไปขององค์กร
4. สารสนเทศและการสื่อสาร
(Information
and Communication)
การควบคุมภายในที่ดีจะเกิดขึ้นได้
เมื่อข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานนั้นได้มีการบ่งชี้
รวบรวมและชี้แจงให้แก่บุคคลที่ควรทราบ
โดยผ่านทางรูปแบบและเวลาการสื่อสารที่เหมาะสมข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจ การบริหารจัดการและการปฏิบัติงานนั้น อาจเป็นได้ทั้งข้อมูลที่เกี่ยวกับการดำเนินงาน การเงิน
และการปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ โดยแหล่งข้อมูลอาจมาจากภายในหรือภายนอกองค์กร องค์ประกอบในเรื่องสารสนเทศและการสื่อสาร
อาจพิจารณาประเด็นที่สำคัญได้ดังนี้
• ข้อมูลเพียงพอ ถูกต้อง
ภายใต้รูปแบบที่เหมาะสม และทันเวลา เพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจการบริหารจัดการ
และการปฏิบัติงานในเรื่องต่างๆ
• การสื่อสารข้อมูลเกิดขึ้นอย่างทั่วถึงทั้งองค์กร
จากผู้บริหารถึงพนักงานและในทางกลับกัน ระหว่างหน่วยงานหรือแผนก
ระหว่างองค์กรกับบุคคลภายนอกเช่น สื่อมวลชน ผู้ออกกฎระเบียบต่างๆ
• การสื่อสารอย่างชัดเจนให้บุคลากรทราบถึงความสำคัญและความ
รับผิดชอบ ต่อการควบคุมภายใน
4. การติดตามประเมินผล
(Monitoring)
การควบคุมภายในต้องมีกลไกในการติดตามประเมินผล
เพื่อให้มั่นใจว่าได้มีการปฏิบัติการควบคุมภายในนั้นอย่างสม่ำเสมอและการปฏิบัตินั้นยังมีความเหมาะสมกับลักษณะการดำเนินงานและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพราะการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นอาจมีผลกระทบต่อความเสี่ยงในการดำเนินงาน
และความเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไปอาจจำเป็นต้องปรับปรุงการควบคุมภายในให้เหมาะสมด้วย
การติดตามผลสามารถทำได้โดยรวมอยู่ในกระบวนการปฏิบัติงานนั้นๆ เช่น
การที่ผู้บังคับบัญชาคอยติดตามถามไถ่ปัญหาในการทำงานก็ถือว่าเป็นการติดตามผลอย่างหนึ่ง
การประเมินผล
คือ การประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะหรือเป็นครั้งคราว เช่น การตรวจสอบโดยหน่วยตรวจสอบภายใน
ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลในองค์กรนั้นเอง
หรือการมอบหมายให้บุคคลภายนอกมาทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายใน
หากองค์กรมีหน่วยตรวจสอบภายใน ก็ต้องส่งเสริมและพัฒนาหน่วยงานนี้ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจริงๆ
ที่มา:http://www.thai-sciencemuseum.com/internal-control/การควบคุมภายใน/องค์ประกอบการควบคุมภายใน
ที่มา:http://www.thai-sciencemuseum.com/internal-control/การควบคุมภายใน/องค์ประกอบการควบคุมภายใน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น